วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553



จังหวัดตราด :: ข้อมูลทั่วไป

ตราด เป็นจังหวัดชายแดนเล็ก ๆ สุดด้านชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย สันนิษฐานกันว่า ”ตราด” เพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาดและรอบเมืองตราดในสมัยก่อนนั้นก็มีต้น “กราด” ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระนเรศวรมหาราช “ตราด” มีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ”
ใน ร.ศ. 112 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนจังหวัดตราดและเกาะช้างทั้งหมดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรี ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ได้ยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตรให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเอาเมืองตราด เกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด กับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืนมา โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทยฝ่ายฝรั่งเศสมีมองซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็น หัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศส ได้กระทำพิธีส่งและรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไป เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ชาวจังหวัดตราดได้ถือเอาวันที่ 23 ของทุกปีเป็นวัน “ตราดรำลึก”
วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน เรือรบฝรั่งเศสล่วงล้ำน่านน้ำด้านจังหวัดตราด กองเรือรบราชนาวีไทยได้เข้าขัดขวางเกิดการยิงต่อสู้กัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “ยุทธนาวีที่เกาะช้าง” โดยฝ่ายไทยสามารถขับไล่ข้าศึกให้ล่าถอยไปได้แต่ต้องสูญเสียเรือรบหลวงไป 3 ลำ คือ เรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงธนบุรี รวมทั้งทหารอีกจำนวนหนึ่ง ในวันที่ 17 มกราคมของทุกปี กองทัพเรือจึงถือเป็นวันทำบุญประจำปีเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ทหารเรือไทยที่ได้สละชีวิตในการปฏบัติหน้าที่ เพื่อปกป้องแผ่นดินไทยในครั้งนั้น

ประวัติความเป็นมา
เมืองตราดสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2178) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย

ตราด นับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด

เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรี

ในสมัยรัชการที่ 1 เมืองตราดยังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันท์ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนผิดใจกันจนต้องทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 ตราดเป็นแหล่งกำลังพล และเสบียงอาหารมีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราด

สมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรี ปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. 2447 โดยแลกกับเมืองตราดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราดกับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (เมื่อหันหน้าไปทางปากแม่น้ำ) คืนให้กับไทยโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพ ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสได้กระทำพิธีส่ง และรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450

ในช่วงสงครามอินโดจีน (พ.ศ. 2483-2484) ฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดเมืองตราดอีกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 กองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำน่านน้ำไทยอย่างกล้าหาญ รักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้

ปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามสู้รบในกัมพูชา ชาวเขมรนับแสนหนีตายทะลักเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เขตพรมแดนด้านตะวันออก เส้นทางหลวงหมายเลข 318 จากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัด และชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ เมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. 2529 เส้นทางสายนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณตลาดหาดเล็ก สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง

การขุดพบ “พลอยแดง” หรือ “ทับทิมสยาม” ในเขตอำเภอบ่อไร่เมื่อปี พ.ศ. 2514 ก่อกระแสการตื่นพลอย ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาแสวงโชคที่นี่ความเจริญทุกด้านมุ่งสู่บ่อไร่จนกลายเป็นเมืองใหญ่คู่กับตัวเมืองตราด พื้นที่ที่เคยเป็นป่าทึบกลายเป็นหลุมบ่อ เมื่อทรัพย์สินในดินเริ่มหมดไป ในปี พ.ศ. 2534 บ่อไร่กลายเป็นเมืองร้าง เหลือไว้เพียงอาคารร้านค้าซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจจังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 315 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,819 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ กับ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะกูด และกิ่งอำเภอเกาะช้าง

จังหวัดตราดแบ่งการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะช้าง และกิ่งอำเภอเกาะกูด

สภาพภูมิอากาศ
จากการที่หมู่เกาะช้างเป็นเกาะซึ่งมีทะเลล้อมรอบทำให้อุณหภูมิบริเวณเกาะช้างเหมาะแก่การพักผ่อน คือ ไม่ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป สำหรับอิทธิพลจากมรสุมนั้น เกาะช้างได้รับอิทธิพลทั้งจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากอิทธิพลดังกล่าวทำให้เกิดข้อจำกัดในการเดินทางด้วยเรือบริเวณเกาะช้างคือ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ชายฝั่งด้านตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมจะเป็นคลื่นลมแรง ไม่สามารถเดินทางด้วยเรือได้ หลังเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่มีคลื่นน้อยที่สุด ฉะนั้นการเดินทางไปเกาะช้าง หรือหมู่เกาะต่างๆ ค่อนข้างจะสะดวก พื้นที่บางส่วนของจังหวัดเป็นเกาะอยู่ในทะเลอ่าวไทยโดยส่วนมาก ทำให้ตราดมีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวทางทะเลอยู่มากโดยมีเกาะถึง 52 เกาะ

สภาพภูมิอากาศ จังหวัดตราดมีอากาศไม่ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป แต่มีฝนตกชุกมาก เพราะมีพื้นที่ติดทะเลและภูเขาโอบล้อม จึงทำให้รับอิทธิพลของลมมรสุม แบ่งออกเป็น 3 ฤดู

ฤดูหนาว เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเดือนพ.ย.-ก.พ. อากาศไม่หนาวมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน เป็นช่วงระหว่างเดือน มี.ค.-เม.ย. อุณหภูมิโดยเฉลี่ยไม่เกิน 34 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตัวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเลอ่าวไทย ในช่วงเดือน พ.ค.-ต.ค ของทุกปี ทำให้มีฝนตกชุกในเกือบทุกพื้นที่ โดยเฉลี่ยจะมีปริมาณน้ำฝน 4,000 มม.ต่อปี

อาณาเขต
ตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 315 กิโลเมตร มีพื้นที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร

ทิศเหนือ จดจังหวัดจันทบุรี และราชอาณาจักรกัมพูชาทิศใต้ จดอ่าวไทยทิศตะวันออก จดราชอาณาจักรกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็น เส้นกั้นเขตแดนตั้งแต่ตอนกลางของจังหวัดลง มาตลอดด้านตะวันออก ระยะทางประมาณ 165 กิโลเมตรทิศตะวันตก จดจังหวัดจันทบุรีที่แม่น้ำเวฬุเป็นเส้นกั้นเขตแดน

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 039)
สำนักงานจังหวัดตราด
039-511-282
ประชาสัมพันธ์จังหวัด
039-511-998
สถานีเดินรถ บขส.
039-532-127
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง
039-511-986
ไปรษณีย์เมืองตราด
039-511-175
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง
039-511-239
สถานีตำรวจภูธร อำเภอคลองใหญ่
039-581-115
สถานีตำรวจภูธร อำเภอแหลมงอบ
039-597-033
สถานีตำรวจภูธร กิ่งอำเภอเกาะช้าง
039-586-191, 039-586-250
โรงพยาบาลตราด
039-511-040-1, 520-216
โรงพยาบาลแหลมงอบ
039-597-040, 597-047
โรงพยาบาลบ่อไร่
039-591-040
โรงพยาบาลคลองใหญ่
039-581-044 , 039-581-116
โรงพยาบาลกรุงเทพฯ-ตราด
039-532-735
โรงพยาบาลกิ่งอำเภอเกาะช้าง
039-586-130
ตำรวจท่องเที่ยวแหลมงอบ
039-597-255, 039-597-259-60
ททท. สำนักงานภาคกลาง เขต5
039-597-255, 597-259-60
ด่านตรวจคนเข้าเมืองแหลมงอบ
039-597-261
ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองใหญ่
039-588-108
จุดตรวจด่านชายแดนบ้านหาดเล็ก
039-588-084
สถานีตรวจอากาศ อำเภอคลองใหญ่
039-581-276

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น