วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553



จังหวัดภูเก็ต :: ข้อมูลทั่วไป

ภูเก็ต เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทย ในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 47.8 กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุด วัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร
มีภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อนมีลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูฝนเริ่มเดือนพฤษภาคม-ปลายเดือนตุลาคม ฤดูร้อนเริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายน-เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 33 อาศาเซลเซียส ต่ำสุด 23 องศาเซลเซียส ช่วงที่อากาศดีที่สุด อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ไม่มีฝน ท้องฟ้าแจ่มใส อุณหภูมิประมาณ 31 องศาเซลเซียส
ประชากรของจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นคนไทย นอกนั้นมีชาวมลายู แขก ซิกซ์ ปาทานกลิงค์กรูซ่า ชาวเล และชาวต่างชาติอื่นๆ ภาษาที่ใช้ในภูเก็ตมี 2 ภาษา คือ ภาษาไทย ซึ่งใช้ในราชการเป็นภาษากลาง และภาษาท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาษาปักษ์ใต้ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง อาชีพของพลเมืองในด้านการเกษตร ส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้
ในด้านอุตสาหกรรมมีการทำเหมืองแร่ดีบุก แร่วุลแฟรม การถลุงแร่ดีบุก การทำยางแผ่นรมควัน และการทำปลาป่น ปลากระป๋อง เป็นต้น และขณะนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ขยายตัวอย่างมาก มีการสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐาน และมีบริษัทนำเที่ยวเกิดขึ้นหลายแห่ง

ประวัติความเป็นมา :
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พื้นที่บริเวณเกาะภูเก็ตได้มีการเรียกขานกันมาหลายชื่อ ได้แก่ แหลมตะโกลา มณีคราม จังซีลอน ภูเก็จ (ซึ่งหมายถึงภูเขาแก้ว) จนกลายเป็นคำว่า “ภูเก็ต” เป็นเมืองที่มีมานาน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยตัวเมืองอยู่ที่ถลางซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองถลางเดิมมีขุนนางไทยคอยดูแลรักษาผลประโยชน์ เพราะฝรั่งชาติฮอลันดามารับซื้อสินค้าจำพวกแร่ ต่อมาถึงรัชกาลที่ 1 พระเจ้ากรุงอังวะยกกองทัพเข้ามารุกรานหัวเมืองฝ่ายตะวันตกแถบชายทะเลของไทยในปี พ.ศ.2328 โดยแบ่งกองทัพยกไปตีเมืองกระ ระนอง ชุมพร ไชยา ตลอดลงไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช ขณะนั้นกองทัพกรุงเทพฯ ยังติดพันการศึกที่กาญจนบุรียกมาช่วยไม่ทัน พม่าส่งแม่ทัพชื่อยี่หวุ่น ยกทัพเรือมาตีได้ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า แล้วเลยไปตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้ ขณะนั้นพระยาถลางถึงแก่กรรม ยังไม่ได้ตั้งเจ้าเมืองใหม่ ภริยาเจ้าเมืองถลางชื่อจัน กับน้องสาวชื่อมุก จึงคิดอ่านกับกรรมการทั้งปวงตั้งค่ายใหญ่ขึ้น 2 ค่าย ป้องกันรักษาเมืองเป็นสามารถ พม่าล้อมเมืองอยู่เดือนเศษเมื่อหมดเสบียงก็เลิกทัพกลับไป
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องยศให้วีรสตรีทั้งสอง เป็นท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นที่น่าภาคภูมิใจแก่ชาวเมืองตลอดมา เกาะถลางหรือเมืองถลางได้เปลี่ยนชื่อเป็นเกาะภูเก็ต หรือเมืองภูเก็ตในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภูเก็ต ได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งอันดามัน เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ในด้านความสวยงามของทิวทัศน์ และหาดทราย น้ำทะเลสีฟ้าใส พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวครบครัน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 48.7 กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออก ถึงทิศตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร ภูเก็ตแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้

อาณาเขต :
ทิศเหนือ จดช่องปากพระ จังหวัดพังงา เชื่อมโดยสะพานสารสินและสะพานเทพกระษัตรีทิศใต้ จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียทิศตะวันออก จดทะเลเขตจังหวัดพังงาทิศตะวันตก จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียจังหวัดภูเก็ต แบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 076)
สำนักงานจังหวัด
211-366
ททท. สำนักงานภาคใต้เขต 4
212-213, 211-036
ตำรวจท่องเที่ยว
219-878
สนามบินภูเก็ต
327-230-7
ตรวจคนเข้าเมือง
212-108
การบินไทย (ภูเก็ต)
211-195, 212-946, 212-499
บางกอกแอร์เวยส์
212-341,225-033-5
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
211-114 , 211-155
โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
212-386
โรงพยาบาลสิริโรจน์
249-400, 210-935
โรงพยาบาลกระทู้
340-444
โรงพยาบาลถลาง
311-033 , 311-111

จังหวัดจันทบุรี



จังหวัดจันทบุรี :: ข้อมูลทั่วไป

จันทบุรี หรือเมืองจันท์เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 245 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 6,338 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยต่อการปลูกผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะ ทุเรียน เงาะ มังคุด และพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น พริกไทย ยางพารา เป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านอัญมณี และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นภูเขา ป่าไม้ น้ำตก ชายทะเล และโบราณสถาน โบราณวัตถุต่าง ๆ

จันทบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปีมาแล้ว เริ่มมีการตั้งเมืองครั้งแรก ที่บริเวณหน้าเขาสระบาป โดยชนชาวขอม ต่อมาได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ ที่บ้านลุ่มซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี เมื่อ ปี พ.ศ. 2200 และหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เข้ายึดเมืองจันทบุรี เพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมกำลังพล เพื่อใช้ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านเนินวง ซึ่งอยู่ในที่สูง เพื่อเป็นที่มั่น ในการป้องกันการถูกรุกรานของญวณ แต่เนื่องจากห่างไกลจากแหล่งน้ำ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงย้ายเมืองจันทบุรี กลับมาตั้งที่บ้านลุ่ม ตามเดิมตราบจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ามา ยึดครองเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 11 ปี จนไทยต้องยอมยกดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้กับฝรั่งเศส เพื่อแลกเมืองจันทบุรีกลับคืนมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ เมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดมาจนถึงปัจจุบัน

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดสระแก้ว ฉะเชิงเทรา และ ชลบุรีทิศใต้ ติดต่ออ่าวไทยทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดตราด และราชอาณาจักรกัมพูชาทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดระยอง

การปกครอง
จันทบุรี แบ่งการปกครองออกเป็นอำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่ อำเภอขลุง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม อำเภอสอยดาว อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมว และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 039)
สำนักงานจังหวัดจันทบุรี
311-001
ททท.สำนักงานภาคกลาง จ.ระยอง
(038) 655-420-1
ประชาสัมพันธ์จังหวัด
311-001
ไปรษณีย์จังหวัด
311-013
องค์การโทรศัพท์
311-800
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง
311-115
ตำรวจทางหลวง
311-188
ตำรวจท่องเที่ยว
1155
สถานีขนส่ง
311-299
โรงพยาบาลตากสิน
321-759
โรงพยาบาลพระปกเกล้า
311-611-3 , 324-975
โรงพยาบาลท่าใหม่
431-001-2
โรงพยาบาลขลุง
441-644

จังหวัดชลบุรี



จังหวัดชลบุรี เรียกกันสั้น ๆ ว่า “เมืองชล” เป็นจังหวัดท่องเที่ยวชายทะเลตะวันออกที่มีชื่อเสียงมาช้านาน เป็นแหล่งเกษตรกรรมปลูกพืชเศรษฐกิจได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา รวมทั้งเป็นที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง และแหล่งอุตสาหกรรมโรงงานที่สำคัญ

เมืองชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 80 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 4,363 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอหนองใหญ่ อำเภอพนัสนิคม อำเภอบ้านบึง อำเภอพานทอง อำเภอบ่อทอง อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ อำเภอเกาะสีชัง และกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ สำหรับ พัทยา ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับนานาชาติ และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการบริหารปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ เรียกว่า เมืองพัทยา โดยแยกออกจากการปกครองของอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ประวัติและความเป็นมา
ชื่อเสียงของเมือง ชลบุรี ในฐานะเมือง ท่องเที่ยว ชายทะเล ทำให้หลายคนคงนึกไม่ถึงว่า ชลบุรี จะเป็นเมืองหนึ่ง ที่มีความเก่าแก่มาตั้งแต่ก่อนสมัย สุโขทัย และเคยมีชุมชน ของคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ อยู่ด้วย น่าเสียดาย ที่หลักฐาน ทางโบราณสถาน และ โบราณวัตถุ ในหลายๆ แห่ง สูญหายไป และคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน น้อยมาก บริเวณที่ลุ่มริมฝั่งลำน้ำพานทอง ซึ่งไหลจากที่สูง ในเขต อ.พนัสนิคม ไปออก แม่น้ำบางปะกง เคยมีคนในยุคหินใหม่ อาศัยอยู่ โดยพบ หลักฐานสำคัญ ที่บริเวณโคกพนมดี ต.ท่าข้าม อ.พนัสนิคม คนกลุ่มนี้ ใช้ขวานหินขัด เครื่องประดับ พวก กำไลลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา แบบเชือกทาบ และกินอาหาร จากทะเล เช่น หอยแครง ปู ปลา เป็นอาหารหลัก แสดงว่า สมัยนั้น พื้นที่นี้อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลกว่าปัจจุบันมาก ที่ ต.หน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม เมื่อประมาณ 1,400-700 ปีก่อน มีเมืองพระรถ ตั้งอยู่ บริเวณนี้มีลำน้ำสายต่างๆ จากที่สูงมารวมกันเป็นลำน้ำพานทอง สามารถเดินทางตามลำน้ำไปติดต่อกับชุมชนอื่นๆ ในสมัยนั้น เช่น เมืองศรีมโหสถ ใน จ.ปราจีนบุรี และ ไปถึงอรัญประเทศได้ เมืองพระรถ จึงเป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคมในท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางเดินบก ไป ระยอง และ จันทบุรี ผ่านเมืองพญาเร่ ซึ่งเป็นเมืองโบราณ อีกเมืองหนึ่ง ในพื้นที่จังหวัด ชลบุรี ด้วย เมืองพระรถ อยู่ในสมัยทวารวดี ถึงสมัย ลพบุรี ถ้ามาจากเมืองพระรถ ไปตามลำน้ำพานทอง จนออกทะเล ที่ปากแม่น้ำบางปะกง บริเวณนี้ มีชุมชนที่ต่อมา พัฒนาเป็นเมืองขึ้น เมื่อ 600 ปีก่อน ชื่อเมืองศรีพโล ในสมัยสุโขทัย เมืองศรีพโล เป็นเมืองท่าชายทะเล เรือสำเภาจากจีน เวียดนาม และ กัมพูชา เดินทางมาจอดพักสินค้า ก่อนเดินทางต่อไปยังปากแม่น้ำเจ้าพระยา และ จอดพักก่อนกลับ หรือ ข้ามอ่าวไทย ไปทางใต้ ปัจจุบัน กำแพงเมือง ศรีพโล ถูกทำลายไปหมด เนื่องจากการสร้าง ถ.สุขุมวิท เมืองศรีพโล เป็นเมืองท่า มาจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น ก็หมดความสำคัญลง อาจเพราะอ่าวเมืองศรีพโล ที่เคยเป็นฝั่งทะเลลึกเกิดตื้นเขินขึ้น เนื่องจากตะกอนแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มาทับถมมากขึ้นเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ ชุมชนจึงเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้ ที่ ต.บางปลาสร้อย ซึ่งมีสภาพชายทะเล และทำเล ที่จอดเรือดีกว่า บางปลาสร้อย นี้ก็คือ ที่ตั้งของเมืองชลบุรี ในปัจจุบันนั่นเอง ในแผนที่ ไตรภูมิ สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อตำบลสำคัญของ ชลบุรี เรียงจากเหนือลงใต้ คือ บางทราย บางปลาสร้อย บางพระเรือ (ปัจจุบันคือ บางพระ) และบางละมุง ส่วนในทำเนียบศักดินาหัวเมือง มีชื่อเมือง ชลบุรี ว่าเป็นเมืองชั้นจัตวา ที่วัดใหญ่อินทาราม ซึ่งอยู่ในตัวเมือง ชลบุรี มีภาพเขียนสมัย อยุธยา ตอนปลาย แสดงถึงชีวิต ความเป็นอยู่ของชาว อยุธยา ชาวต่างชาติ ทั้งฝรั่ง และ จีน ภาพปราสาทราชวัง ฝีมือเขียนภาพงดงามมาก และ เป็นบันทึกหลักฐานอย่างดี ของเมืองท่าแห่งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระอินทอาษา ชาวนครเวียงจันทน์ พาชาวลาว มาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่ในที่ระหว่างเมืองชลบุรี กับ ฉะเชิงเทรา ต่อมา จึงตั้งขึ้น เป็นเมืองพนัสนิคม ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมืองพนัสนิคม และ เมืองบางละมุง ถูกยุบเป็นอำเภอ ขึ้นต่อ เมืองชลบุรี และเป็นอำเภอหนึ่งของ ชลบุรี มานับแต่นั้น ชลบุรี มีความสำคัญในฐานะเมืองท่า นับเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี จากสมัยสุโขทัย มาถึงสมัย รัตนโกสินทร์ และกระทั่งปัจจุบัน ก่อนที่จะมามีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะเมืองตากอากาศชายทะเล เช่นทุกวันนี้

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จ.ฉะเชิงเทรา ทิศใต้ ติดต่อกับ จ.ระยองทิศตะวันออก ติดต่อกับ จ.ฉะเชิงเทรา จ.จันทบุรี และ จ.ระยองทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทะเลฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 038)
สำนักงานจังหวัดชลบุรี
0 3827 5034, 27 9434
เทศบาลเมืองชลบุรี
0 3827 9407 ต่อ 112
ประชาสัมพันธ์จังหวัด
0 3827 9448
ตำรวจท่องเที่ยว
1155
ตำรวจท่องเที่ยว (พัทยา)
0 3842 9371, 0 3842 5937
สถานีตำรวจภูธร (พัทยา)
0 3842 0802–5
สถานีตำรวจภูธร(จอมเทียน)
0 3823 2330-1
สถานีตำรวจภูธร (บางละมุง)
0 3822 1800, 0 3822 1331
โรงพยาบาลกรุงเทพ-พัทยา
0 3842 7751-5
โรงพยาบาลเอกชล
0 3827 3840, 0 3879 1790-9
โรงพยาบาลบางละมุง
0 3842 9244
สนามบินอู่ตะเภา
0 3824 5666180
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง
0 3842 9877


จังหวัดตราด :: ข้อมูลทั่วไป

ตราด เป็นจังหวัดชายแดนเล็ก ๆ สุดด้านชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย สันนิษฐานกันว่า ”ตราด” เพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาดและรอบเมืองตราดในสมัยก่อนนั้นก็มีต้น “กราด” ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระนเรศวรมหาราช “ตราด” มีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ”
ใน ร.ศ. 112 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนจังหวัดตราดและเกาะช้างทั้งหมดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรี ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ได้ยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตรให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเอาเมืองตราด เกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด กับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืนมา โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทยฝ่ายฝรั่งเศสมีมองซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็น หัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศส ได้กระทำพิธีส่งและรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไป เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ชาวจังหวัดตราดได้ถือเอาวันที่ 23 ของทุกปีเป็นวัน “ตราดรำลึก”
วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน เรือรบฝรั่งเศสล่วงล้ำน่านน้ำด้านจังหวัดตราด กองเรือรบราชนาวีไทยได้เข้าขัดขวางเกิดการยิงต่อสู้กัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “ยุทธนาวีที่เกาะช้าง” โดยฝ่ายไทยสามารถขับไล่ข้าศึกให้ล่าถอยไปได้แต่ต้องสูญเสียเรือรบหลวงไป 3 ลำ คือ เรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงธนบุรี รวมทั้งทหารอีกจำนวนหนึ่ง ในวันที่ 17 มกราคมของทุกปี กองทัพเรือจึงถือเป็นวันทำบุญประจำปีเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ทหารเรือไทยที่ได้สละชีวิตในการปฏบัติหน้าที่ เพื่อปกป้องแผ่นดินไทยในครั้งนั้น

ประวัติความเป็นมา
เมืองตราดสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2178) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย

ตราด นับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด

เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรี

ในสมัยรัชการที่ 1 เมืองตราดยังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันท์ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนผิดใจกันจนต้องทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 ตราดเป็นแหล่งกำลังพล และเสบียงอาหารมีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราด

สมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรี ปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. 2447 โดยแลกกับเมืองตราดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราดกับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (เมื่อหันหน้าไปทางปากแม่น้ำ) คืนให้กับไทยโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพ ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสได้กระทำพิธีส่ง และรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450

ในช่วงสงครามอินโดจีน (พ.ศ. 2483-2484) ฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดเมืองตราดอีกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 กองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำน่านน้ำไทยอย่างกล้าหาญ รักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้

ปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามสู้รบในกัมพูชา ชาวเขมรนับแสนหนีตายทะลักเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เขตพรมแดนด้านตะวันออก เส้นทางหลวงหมายเลข 318 จากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัด และชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ เมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. 2529 เส้นทางสายนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณตลาดหาดเล็ก สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง

การขุดพบ “พลอยแดง” หรือ “ทับทิมสยาม” ในเขตอำเภอบ่อไร่เมื่อปี พ.ศ. 2514 ก่อกระแสการตื่นพลอย ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาแสวงโชคที่นี่ความเจริญทุกด้านมุ่งสู่บ่อไร่จนกลายเป็นเมืองใหญ่คู่กับตัวเมืองตราด พื้นที่ที่เคยเป็นป่าทึบกลายเป็นหลุมบ่อ เมื่อทรัพย์สินในดินเริ่มหมดไป ในปี พ.ศ. 2534 บ่อไร่กลายเป็นเมืองร้าง เหลือไว้เพียงอาคารร้านค้าซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจจังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 315 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,819 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ กับ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะกูด และกิ่งอำเภอเกาะช้าง

จังหวัดตราดแบ่งการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะช้าง และกิ่งอำเภอเกาะกูด

สภาพภูมิอากาศ
จากการที่หมู่เกาะช้างเป็นเกาะซึ่งมีทะเลล้อมรอบทำให้อุณหภูมิบริเวณเกาะช้างเหมาะแก่การพักผ่อน คือ ไม่ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป สำหรับอิทธิพลจากมรสุมนั้น เกาะช้างได้รับอิทธิพลทั้งจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากอิทธิพลดังกล่าวทำให้เกิดข้อจำกัดในการเดินทางด้วยเรือบริเวณเกาะช้างคือ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ชายฝั่งด้านตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมจะเป็นคลื่นลมแรง ไม่สามารถเดินทางด้วยเรือได้ หลังเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่มีคลื่นน้อยที่สุด ฉะนั้นการเดินทางไปเกาะช้าง หรือหมู่เกาะต่างๆ ค่อนข้างจะสะดวก พื้นที่บางส่วนของจังหวัดเป็นเกาะอยู่ในทะเลอ่าวไทยโดยส่วนมาก ทำให้ตราดมีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวทางทะเลอยู่มากโดยมีเกาะถึง 52 เกาะ

สภาพภูมิอากาศ จังหวัดตราดมีอากาศไม่ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป แต่มีฝนตกชุกมาก เพราะมีพื้นที่ติดทะเลและภูเขาโอบล้อม จึงทำให้รับอิทธิพลของลมมรสุม แบ่งออกเป็น 3 ฤดู

ฤดูหนาว เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเดือนพ.ย.-ก.พ. อากาศไม่หนาวมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน เป็นช่วงระหว่างเดือน มี.ค.-เม.ย. อุณหภูมิโดยเฉลี่ยไม่เกิน 34 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตัวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเลอ่าวไทย ในช่วงเดือน พ.ค.-ต.ค ของทุกปี ทำให้มีฝนตกชุกในเกือบทุกพื้นที่ โดยเฉลี่ยจะมีปริมาณน้ำฝน 4,000 มม.ต่อปี

อาณาเขต
ตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 315 กิโลเมตร มีพื้นที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร

ทิศเหนือ จดจังหวัดจันทบุรี และราชอาณาจักรกัมพูชาทิศใต้ จดอ่าวไทยทิศตะวันออก จดราชอาณาจักรกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็น เส้นกั้นเขตแดนตั้งแต่ตอนกลางของจังหวัดลง มาตลอดด้านตะวันออก ระยะทางประมาณ 165 กิโลเมตรทิศตะวันตก จดจังหวัดจันทบุรีที่แม่น้ำเวฬุเป็นเส้นกั้นเขตแดน

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 039)
สำนักงานจังหวัดตราด
039-511-282
ประชาสัมพันธ์จังหวัด
039-511-998
สถานีเดินรถ บขส.
039-532-127
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง
039-511-986
ไปรษณีย์เมืองตราด
039-511-175
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง
039-511-239
สถานีตำรวจภูธร อำเภอคลองใหญ่
039-581-115
สถานีตำรวจภูธร อำเภอแหลมงอบ
039-597-033
สถานีตำรวจภูธร กิ่งอำเภอเกาะช้าง
039-586-191, 039-586-250
โรงพยาบาลตราด
039-511-040-1, 520-216
โรงพยาบาลแหลมงอบ
039-597-040, 597-047
โรงพยาบาลบ่อไร่
039-591-040
โรงพยาบาลคลองใหญ่
039-581-044 , 039-581-116
โรงพยาบาลกรุงเทพฯ-ตราด
039-532-735
โรงพยาบาลกิ่งอำเภอเกาะช้าง
039-586-130
ตำรวจท่องเที่ยวแหลมงอบ
039-597-255, 039-597-259-60
ททท. สำนักงานภาคกลาง เขต5
039-597-255, 597-259-60
ด่านตรวจคนเข้าเมืองแหลมงอบ
039-597-261
ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองใหญ่
039-588-108
จุดตรวจด่านชายแดนบ้านหาดเล็ก
039-588-084
สถานีตรวจอากาศ อำเภอคลองใหญ่
039-581-276

ระยะจังหวัดระยอง



จังหวัดระยอง :: ข้อมูลทั่วไป

ระยอง เริ่มปรากฏชื่อในพงศาวดารเมื่อปีพุทธศักราช 2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าเมืองนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ ปรากฏจากหลักฐาน คือ ซากศิลาแลง คูค่ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม

ประวัติศาสตร์กล่าวถึงเมือง ระยอง ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียทีแก่พม่าเป็น ครั้งที่ 2 ในรัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ ปีพุทธศักราช 2309 พระยาวชิรปราการ หรือพระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า มาหยุดพักไพร่พลที่เมือง ระยอง ก่อนเดินทัพต่อไปยังเมืองจันทบุรี เพื่อยึดเป็นที่ตั้งมั่นในการกอบกู้ อิสรภาพคืนจากพม่าในปีพุทธศักราช 2311

จังหวัดระยอง ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 100 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 3,552 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งอาหารทะเล และผลไม้นานาชนิด เป็นเมืองอุตสาหกรรม และเป็นที่ตั้งของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่สำคัญ แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมือง ระยอง อำเภอแกลง อำเภอบ้านค่าย อำเภอบ้านฉาง อำเภอปลวกแดง อำเภอวังจันทร์ กิ่งอำเภอเขาชะเมา และกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา

ระยอง เมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก ที่ได้รับการขนานนาม ให้เป็นเมือง " สุนทรภู่ " เมืองแห่งกวีเอก กรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ประพันธ์วรรณกรรม ประเภทร้อยกรอง ได้อย่างไพเราะ สละสลวย และเต็มไปด้วยจินตนาการ โดยเฉพาะ นิทานกลอนสุภาพ เรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งฉากหนึ่งในนิทาน เรื่องนี้ ก็คือหมู่เกาะน้อยใหญ่ และท้องทะเล ที่สวยงาม ในจังหวัด ระยอง นั่นเอง

นอกจากธรรมชาติอันงดงามแล้ว ระยอง ยังเป็นแหล่งประมง และผลิตอาหารทะเลแปรรูปที่สำคัญ เป็นแหล่งปลูกผลไม้เมืองร้อน ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงาะ ทุเรียน และมังคุด อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของโครงการพัฒนาพื้นที่ ชายฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจแห่งใหม่ของประเทศ ทางหลวงสายสำคัญจากทุกภูมิภาค ที่มุ่งหน้าสู่จังหวัด ระยอง สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก แก่ภาคอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกัน ก็เอื้อประโยชน์ ให้การเดินทางท่องเที่ยว มายังจังหวัด ระยอง ได้รวดเร็วและปลอดภัย มากขึ้น โรงแรม ร้านอาหาร ที่ได้มาตรฐาน ถูกสร้างขึ้น เพื่อรองรับความเจริญ เติบโต ของภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว จึงทำให้ ระยอง ในวันนี้ เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ที่ต้องการ ที่พัก ร้านอาหาร และการบริการที่สะดวกสบายพร้อมสรรพ แต่ยังคงได้สัมผัสกับธรรมชาติ และบรรยากาศ ที่เป็นส่วนตัว เหมือนครั้งเมื่อวันวาน

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อเขตอำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ่อทอง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีทิศใต้ ติดต่ออ่าวไทย มีชายฝั่งยาวประมาณ 100 กิโลเมตรทิศตะวันออก ติดต่อเขตอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีทิศตะวันตก ติดต่อเขตอำเภอสัตหีบ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังสถานที่ต่างๆ
อ.เมือง
0 กม.
อ.บ้านค่าย
12 กม.
มาบตาพุด
12 กม.
สวนสุภัทราแลนด์
30 กม.
หาดแม่รำพึง
11 กม.
อ.ปลวกแดง
47 กม.
บ้านก้นอ่าว
22 กม.
อ่างเก็บน้ำดอกกราย
35 กม.
สวนพฤกษชาติโสภา
17 กม.
โรงงานโลตัส
30 กม.
บ้านเพ
19 กม.
อ.บ้านฉาง
28 กม.
สวนสน
23 กม.
หาดพยูน
33 กม.
อ.แกลง
50 กม.
หาดพลา
36 กม.
วังแก้ว
38 กม.
สนามบินอู่ตะเภา
35 กม.
แหลมแม่พิมพ์
45 กม.
กิ่ง อ.นิคมพัฒนา
33 กม.
อนุสาวรีย์สุนทรภู่
48 กม.
สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพฯ
26 กม.
ปากน้ำประแสร์
66 กม.
กิ่ง อ.เขาชะเมา
80 กม.
พัทยา
65 กม.
น้ำตกเขาชะเมา
71 กม.
จันทบุรี
110 กม.
ถ้ำเขาวง
78 กม.
ตราด
180 กม.

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 038)
เหตุด่วนเหตุร้าย
191
เพลิงไหม้
199
ตำรวจทางหลวง ระยอง
193 , 038-611-203
ตำรวจท่องเที่ยว ระยอง
038-651-669
สภอ.เมือง
038-613-677 , 038-871-222
โรงพยาบาล ระยอง
038-611-104
สายด่วนอุบัติเหตุ
1669
ด่านตรวจคนเข้าเมือง
038-638-674
ศาลากลางจังหวัด
038-694-000
เกษตรจังหวัด
038-870-401 , 038-611-202
ประชาสัมพันธ์จังหวัด
038-694-102-3
สถานีอุตุนิยมวิทยา ระยอง
038-655-075